หลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

 

บริษัท ที-บ็อกซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด (“บริษัท”) ในฐานะเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้กำหนดให้มีหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลฉบับนี้เพื่อให้การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในระบบของบริษัทเป็นไปอย่างเหมาะสม รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยจัดให้มีการเปิดเผยแก่ลูกค้าผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของบริษัท โดยหลักเกณฑ์การซื้อขายของบริษัทมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                        

  1. ภาพรวมกระบวนการในการซื้อขายโทเคนดิจิทัล (Trading Rules)

                 1.1 วันและเวลาทำการ (Trading Days and Hours)

       บริษัทมีวันและเวลาทำการของบริษัทตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 18.00 น. (จันทร์-ศุกร์) โดยสำหรับระบบศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทนั้นจะเปิดให้บริการและมีเวลาทำการทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ – วันอาทิตย์ และมีเวลาทำการตลอด 24 ชั่วโมง ตามรายละเอียดที่ปรากฏในตารางด้านล่างนี้

 

รายละเอียด

ช่วงเวลาทำการ (GMT+7)

เวลาทำการของระบบศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ (จันทร์-อาทิตย์)

 

เวลาทำการ

00.00 น. ถึง 23.59.59 น.

เวลาทำการของบริษัท (จันทร์-ศุกร์)

 

หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์

09.00 น. ถึง 18.00 น.

โดยในช่วงนอกเวลาทำการของบริษัทจะมีการเปลี่ยนวนพนักงาน 1-2 คน ของแต่ละฝ่ายงาน หรือตามความเหมาะสม เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าและดูแลความเรียบร้อยของการให้บริการตามขอบเขตที่รับผิดชอบ

ฝ่ายปฏิบัติการ

 

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

       ในกรณีที่ต้องระงับการให้บริการเพื่อการปรับปรุงระบบ (System Maintenance) บริษัทจะแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้

        (1)  เหตุที่ต้องระงับการให้บริการ

        (2) วันและเวลาที่ชัดเจนสำหรับการปรับปรุงระบบ

        (3) วันและเวลาที่เปิดให้บริการตามปกติ

        (4) ช่องทางการติดต่อหรือร้องเรียน

 

 

                1.2 การกำหนดราคาอ้างอิง (Reference Price)

       บริษัทมีระบบในการกำหนดราคาอ้างอิงของโทเคนดิจิทัลแต่ละชนิดเพื่อใช้ในการกำหนดช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดในการซื้อขาย โดยการกำหนดราคาอ้างอิงดังกล่าวบริษัทใช้หลักการดังต่อไปนี้

 

        1.2.1 กรณีที่มีการซื้อขายโทเคนดิจิทัลให้กำหนดราคาอ้างอิงตามราคาตลาดของโทเคนดิจิทัลนั้น (Market Price)

 

        1.2.2 กรณีที่ไม่มีการซื้อขายโทเคนดิจิทัล แต่มีคำเสนอซื้อขายในฐานคำสั่ง (Order Book) ให้ราคาอ้างอิงเป็นไปตามราคาที่ดีที่สุดในฐานระบบคำเสนอซื้อขาย (Best Bid Price/Best Ask Price) ดังนี้

                (1)   หากราคาอ้างอิงเดิมต่ำกว่าราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด ให้ราคาอ้างอิงเปลี่ยนเป็นราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด

                (2)   หากราคาอ้างอิงเดิมสูงกว่าราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด ให้ราคาอ้างอิงเปลี่ยนเป็นราคาขายที่ดีที่สุด

 

        1.2.3 กรณีที่ไม่มีการซื้อขายโทเคนดิจิทัลและไม่มีคำสั่งเสนอซื้อขายในฐานคำสั่งให้ใช้ราคาอ้างอิงเดิมก่อนหน้า

 

                 1.3 การกำหนดราคาช่วงราคาที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขาย (Price Collar)

       บริษัทจัดระบบในการคำนวณช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดในการซื้อขายของโทเคนดิจิทัลแต่ละชนิดตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

        1.3.1 กำหนดจากราคาอ้างอิงซึ่งคูณหรือหารด้วย 1.3 เช่น หากราคาอ้างอิงของโทเคนดิจิทัลดังกล่าวอยู่ที่ 90 บาท ราคาที่บริษัทกำหนดให้มีการซื้อขายได้สูงสุดอยู่ที่ 117 บาท (90*1.3) และต่ำสุดอยู่ที่ 69.23 บาท (90/1.3) เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขที่นำมาคำนวณราคาสูงสุดและต่ำสุดโดยพิจารณาหลายจากปัจจัย เช่น พฤติกรรมการซื้อขายในระบบ การคุ้มครองนักลงทุน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือกรณีมีการกำหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เป็นต้น

 

        1.3.2 การกำหนดราคาสูงสุดและต่ำสุดไว้ด้วย 1.3 เท่านั้นมาจากการที่บริษัทพิจารณาเห็นความคล้ายคลึงระหว่างตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในประเทศไทยและยุโรปซึ่งล้วนให้ความสำคัญกับผู้ลงทุนรายย่อย บริษัทจึงสำรวจกลไกการควบคุมราคาที่ใช้โดยตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำของยุโรปและตัดสินใจใช้วิธีการกำหนดราคาแบบ Price Collar Factor (PCF) ของตลาดหลักทรัพย์สวิตเซอร์แลนด์ (SIX Swiss Exchange: SIX) ซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของยุโรปหากพิจารณาจากรายได้ โดย PCF ได้กำหนดไว้ที่ 1.3 ตามแนวทางการซื้อขายของ SIX (Trading Parameters Guideline) และใช้สำหรับหลักทรัพย์แทบทุกประเภทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ blue-chip shares mid/small-cap shares secondary-listing shares sponsored-foreign shares investment funds ETF โดยบริษัทจะใช้ PCF ซึ่งกำหนดไว้ที่ 1.3 เท่า สำหรับโทเคนดิจิทัลทุกชนิดที่ขึ้นทะเบียนกับบริษัท ทั้งนี้ ตัวเลขของ PCF ที่บริษัทกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมการซื้อขาย ปริมาณและราคาของโทเคนดิจิทัล เป็นต้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาเสถียรภาพของศูนย์ซื้อขายและการซื้อขายของลูกค้า

 

                1.4 การกำหนดจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงสุดและต่ำสุดที่สามารถซื้อขายได้

        กำหนดให้มีการปฏิเสธคำสั่งซื้อขายที่มีจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงหรือต่ำกว่าที่บริษัทกำหนดสำหรับลูกค้าทุกประเภทตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

        1.4.1 คำสั่งซื้อที่จะทำให้ผู้ซื้อครอบครองโทเคนดิจิทัลซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนโทเคนดิจิทัลนั้นที่ออกและเสนอขายทั้งหมด หากคำสั่งซื้อดังกล่าวได้รับการจับคู่ในระบบ ทั้งนี้ บริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนจำนวนโทเคนดิจิทัลโดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมการซื้อขายในระบบ การคุ้มครองนักลงทุน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือกรณีมีการกำหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายโทเคนดิจิทัล เป็นต้น ตามแนวทางที่ปรากฏในเอกสารแนบท้ายหัวข้อ 4.1.3 (ข)

 

        1.4.2 คำสั่งซื้อขายที่มีจำนวนโทเคนดิจิทัลเป็นเศษทศนิยม กล่าวคือ บริษัทกำหนดให้การส่งคำสั่งซื้อขายโทเคนดิจิทัลในระบบศูนย์ซื้อขายของบริษัทสามารถทำได้เฉพาะกรณีที่กำหนดจำนวนโทเคนดิจิทัลเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น

 

                1.5 การกำหนดมูลค่าโทเคนดิจิทัลสูงสุดและต่ำสุดที่สามารถซื้อขายได้

        กำหนดให้มีการปฏิเสธคำสั่งซื้อขายที่มีจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงหรือต่ำกว่าที่บริษัทกำหนดตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

        1.5.1 คำสั่งซื้อขายที่มีจำนวนโทเคนดิจิทัลต่ำกว่า 1 โทเคนดิจิทัล

        1.5.2 บริษัทไม่มีการกำหนดมูลค่าสูงสุดที่ลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อขาย แต่อยู่ภายใต้กฎเกี่ยวกับจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงสุดที่บริษัทกำหนดตามข้อ 1.4.1 ทั้งนี้ บริษัทยังคงกำกับดูแลตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงการรายงานข้อมูลการซื้อขายตามที่หน่วยงานดูแลที่เกี่ยวข้องกำหนด

 

                1.6 กระบวนการซื้อขายโทเคนดิจิทัล

        บริษัทกำหนดกระบวนการในการซื้อขายโทเคนดิจิทัลทั้งหมดโดยมีลำดับการดำเนินการดังนี้  

        1.6.1 การวางคำเสนอซื้อขาย (Order Placement)

        1.6.2 การจัดลำดับคำเสนอซื้อขาย (Order Queuing)

        1.6.3 การจับคู่คำเสนอซื้อขาย (Order Matching) 

        1.6.4 การชำระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล (Clearing and Settlement)

        1.6.5 การรายงานและแจ้งผลการทำธุรกรรม (Transaction Report)

 

                1.7 ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)

        บริษัทอาจกำหนดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องของโทเคนดิจิทัลแต่ละชนิด

 

  1. การวางคำเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัล (Order Placement)

                2.1 ช่องทางการส่งคำสั่งซื้อขาย

       ลูกค้าที่ประสงค์ส่งคำสั่งซื้อขายโทเคนดิจิทัลในระบบศูนย์ซื้อขายของบริษัทต้องเป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อขายดังกล่าวด้วยตนเองผ่านทางแอปพลิเคชันของบริษัท โดยต้องเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้งานที่ได้สมัครไว้กับทางบริษัทและกรอกข้อมูลตามที่กำหนด เช่น ราคาที่ต้องการซื้อขาย และจำนวนโทเคนดิจิทัล เป็นต้น

 

                2.2 ประเภทคำสั่งเสนอซื้อขาย

บริษัทจัดให้มีประเภทคำสั่งเสนอซื้อขาย 2 ประเภท คือ คำสั่งประเภท Limit Order และคำสั่งประเภท Market Order โดยแต่ละคำสั่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

        2.2.1 คำสั่งซื้อขายประเภท Limit Order

       เป็นคำสั่งที่ระบบจะดำเนินการจับคู่คำเสนอซื้อขายที่เสนอราคาโทเคนดิจิทัลต่อเงินบาท (Conversion Rate) ในอัตราที่ผู้ส่งคำสั่งกำหนดหรือในราคาที่ดีกว่าที่มีอยู่ในฐานคำสั่งเสนอซื้อขาย (Order Book) โดยการวางคำเสนอซื้อขายแบบ Limit Order ผู้ซื้อหรือผู้ขายจะสามารถจำกัดราคาสูงสุดที่ตนต้องการซื้อหรือขายได้ในราคาที่ตนเองเป็นผู้กำหนด

 

        2.2.2 คำสั่งซื้อขายประเภท Market Order

       เป็นคำสั่งที่ระบบจะดำเนินการจับคู่คำเสนอซื้อขายที่เสนอราคาโทเคนดิจิทัลต่อเงินบาท (Conversion Rate) ให้แก่ผู้ที่ส่งคำสั่ง ในราคาเสนอซื้อขายที่ดีที่สุดที่มีในระบบการซื้อขาย ณ ขณะนั้น

 

                2.3 การยกเลิกคำสั่งซื้อขาย

        2.3.1 คำสั่งซื้อขายประเภท Limit Order

       ลูกค้าสามารถยกเลิกคำเสนอซื้อขายในระบบผ่านทางแอปพลิเคชันได้ตลอดเวลาในส่วนที่ยังไม่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขาย โดยบริษัทไม่คิดค่าธรรมเนียมการยกเลิกแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากมีคำสั่งซื้อขายที่ไม่ได้รับการจับคู่ค้างในระบบภายหลังสิ้นวันทำการ (23.59.59 น.) คำสั่งดังกล่าวจะยังคงได้รับการบันทึกในฐานคำเสนอซื้อขายเพื่อการจับคู่ในวันทำการถัดไป

 

        2.3.2 คำสั่งซื้อขายประเภท Market Order

       โดยส่วนมากคำสั่งประเภท Market Order จะได้รับการจับคู่ในระบบโดยทันที อย่างไรก็ตามลูกค้าสามารถยกเลิกคำเสนอซื้อขายในระบบผ่านทางแอปพลิเคชันได้ตลอดเวลาในส่วนที่ยังไม่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขาย โดยบริษัทไม่คิดค่าธรรมเนียมการยกเลิกแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากมีคำสั่งซื้อขายที่ไม่ได้รับการจับคู่ค้างในระบบภายหลังสิ้นวันทำการ (23.59.59 น.) คำสั่งดังกล่าวจะยังคงได้รับการบันทึกในฐานคำเสนอซื้อขายเพื่อการจับคู่ในวันทำการถัดไป

 

                2.4 การหักยอดรวมบัญชีทรัพย์สินและการหักค่าธรรมเนียม

 

        2.4.1      เมื่อลูกค้ากดยืนยันการส่งคำเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัล ระบบจะดำเนินการหักยอดเงินบาทหรือโทเคนดิจิทัล(แล้วแต่กรณี) จากบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าทันทีตามมูลค่าและจำนวนที่ลูกค้าส่งคำสั่ง รวมถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายตามอัตราที่บริษัทกำหนด โดยการหักยอดดังกล่าวไม่ได้เป็นการหักยอดเงินบาทหรือโทเคนดิจิทัลของลูกค้าอย่างแท้จริง จนกว่าจะมีการจับคู่ ชำระราคา และการส่งมอบในขั้นตอนต่อไป

 

        2.4.2      สำหรับกรณีที่ลูกค้ามีทรัพย์สินในบัญชีไม่เพียงพอต่อการหักยอดเงินบาทหรือโทเคนดิจิทัล หรือค่าธรรมเนียมตามข้อ 2.4.1 ระบบจะไม่ดำเนินการส่งคำสั่งซื้อขายดังกล่าว กล่าวคือ ลูกค้าไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ โดยระบบจะแจ้งเหตุของการไม่ส่งคำสั่งให้ลูกค้าทราบทันที

 

        2.4.3      กรณีที่ไม่สามารจับคู่ซื้อขายได้และคำสั่งได้ถูกยกเลิก บริษัทจะดำเนินการคืนยอดเงินบาท และ/หรือโทเคนดิจิทัล (แล้วแต่กรณี) ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามมูลค่าและจำนวนโทเคนดิจิทัลที่ได้ส่งคำสั่งพร้อมค่าธรรมเนียม

 

                2.5 การปฏิเสธคำสั่งเสนอซื้อขาย

       บริษัทและระบบอาจปฏิเสธการดำเนินการจับคู่หรือส่งคำสั่งเสนอซื้อขายดังต่อไปนี้

        2.5.1      คำสั่งที่มีการเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัลซึ่งมีราคาซื้อขายสูงหรือต่ำกว่าช่วงราคาที่บริษัทกำหนดตามข้อ 1.3

        2.5.2      คำสั่งที่มีการเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัลซึ่งมีมูลค่าสูงหรือต่ำกว่าที่บริษัทกำหนดตามข้อ 1.5

        2.5.3      คำสั่งที่มีการเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัลซึ่งมีจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงหรือต่ำกว่าที่บริษัทกำหนดตามข้อ 1.4

        2.5.4      กรณีมีเหตุฉุกเฉินและเหตุผิดปกติที่บริษัทกำหนด (Emergency and Extraordinary Situations) ตามข้อ 3

 

                2.6 การยกเลิกหรือระงับคำสั่งเสนอซื้อขายโดยบริษัท

       บริษัทสงวนสิทธิยกเลิกหรือระงับคำสั่งซื้อขายในกรณีดังต่อไปนี้

        (1)   คำสั่งที่มีอาจเกิดจากความบกพร่องหรือความผิดปกติของระบบซึ่งลูกค้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง

        (2)   กรณีมีเหตุฉุกเฉินและเหตุผิดปกติที่บริษัทกำหนด (Emergency and Extraordinary Situations) ตามข้อ 3

 

  1.    เหตุการณ์ผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉิน (Extraordinary and Emergency Situation)

บริษัทกำหนดเหตุการณ์ผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉินที่บริษัทอาจกำหนดให้ระบบศูนย์ซื้อขายของบริษัทปฏิเสธ ยกเลิก หรือระงับคำสั่งซื้อขายของลูกค้าโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               

                3.1 เหตุผิดปกติ (Extraordinary Situation)

 

       ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติบริษัทอาจดำเนินการที่จำเป็นเพื่อรักษาความเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการซื้อขาย โดยเหตุการณ์ดังต่อไปนี้อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นเหตุผิดปกติ

 

        3.1.1 กรณีที่สภาวะการซื้อขาย ปริมาณการซื้อขาย หรือราคาโทเคนดิจิทัลมีความผันผวนรุนแรง ราคาโทเคนดิจิทัลโดยรวมเปลี่ยนแปลงและลดลงมากจากความกดดันของตลาด อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือโทเคนดิจิทัล

 

        3.1.2 กรณีที่สภาวะการซื้อขาย ปริมาณการซื้อขาย หรือราคาโทเคนดิจิทัลมีความผันผวนรุนแรง ราคาโทเคนดิจิทัลโดยรวมเปลี่ยนแปลงและลดลงมากจากความกดดันของตลาด อันเกิดจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์สำคัญหรือเหตุการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของประเทศ

 

        3.1.3 เหตุการณ์อื่นใดที่อาจส่งผลให้สภาวะการซื้อขาย ปริมาณการซื้อขาย หรือราคาโทเคนดิจิทัลมีความผันผวนอย่างรุนแรง หรือเป็นการซื้อขายที่ผิดปกติหรือไม่เป็นธรรม ทำให้อาจกระทบต่อเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการซื้อขาย

               

                3.2 เหตุฉุกเฉิน (Emergency Situation)

                เหตุการณ์ดังต่อไปนี้อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน

        3.2.1 ความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของระบบการดำเนินการหรือให้บริการของบริษัท เช่น ระบบการส่งมอบและชำระราคา ระบบการจับคู่ซื้อขาย เป็นต้น

        3.2.2 คำสั่งจากหน่วยงานกำกับดูแลหรือหน่วยงานราชการอันเนื่องมาจากพบหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยใช้บริษัทหรือโทเคนดิจิทัลที่ให้บริการบนศูนย์ซื้อขายของบริษัทเป็นเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าว

        3.2.3 เหตุสุดวิสัยหรือเหตุการณ์อื่นใดซึ่งหากไม่ระงับหรือยกเลิกการซื้อขายอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าและบริษัท

 

                3.3 การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉิน

เพื่อรักษาเสถียรภาพและประสิทธิภาพของตลาดการซื้อขาย กรณีที่เกิดเหตุผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉินบริษัทอาจดำเนินการดังต่อไปนี้

        3.3.1      ระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัล (Suspension)

        3.3.2      ปฏิเสธหรือยกเลิกคำสั่งซื้อขายโทเคนดิจิทัล (Rejection or Cancellation)

        3.3.3      ประกาศภาวะฉุกเฉินหรือเหตุผิดปกติ รวมถึงรายละเอียดการดำเนินการของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้

                (1)  เหตุแห่งการระงับหรือเลื่อนการซื้อขายโทเคนดิจิทัล หรือเหตุแห่งการปฏิเสธหรือยกเลิกคำสั่งการซื้อขาย

                (2)  ระยะเวลาในการดำเนินการ

                (3)  วันและเวลาที่ให้บริการตามปกติ

                (4)  ช่องทางการติดต่อและร้องเรียน

 

       ทั้งนี้แนวทางในการดำเนินการเมื่อเกิดเหตุผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉินให้เป็นไปตามแนวทางที่บริษัทกำหนดโดยอาจพิจารณาดำเนินการตามแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) หรือแผนรองรับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของบริษัท (Incident Management Plan)

 

                3.4 วิธีการดำเนินการเมื่อเกิดเหตุผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉิน

                       

        3.4.1 ให้ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขาย (Market Surveillance Department) เป็นฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบการซื้อขายและเงื่อนไขของโทเคนดิจิทัลที่ให้บริการบนศูนย์ซื้อขายของบริษัท หากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายตรวจสอบแล้วเห็นว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาเสถียรภาพและประสิทธิภาพของตลาดการซื้อขาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายจะส่งรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อตรวจสอบทันที คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่อนุมัติการระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัล (Suspension) และ/หรือปฏิเสธ ยกเลิกคำสั่งซื้อขายโทเคนดิจิทัลใดๆ (Rejection or Cancellation)

 

        3.4.2 หากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงตัดสินใจที่จะระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายจะแจ้งฝ่ายปฏิบัติการเพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติการแจ้งแก่ลูกค้าของบริษัทโดยลูกค้าจะต้องได้รับแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัล การแจ้งเตือนต้องระบุวันที่และเวลาเริ่มต้นของการระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัลอย่างชัดเจน ช่องทางการแจ้งเตือนผ่านอีเมลลูกค้าและการแจ้งเตือนภายในแอปพลิเคชันมือถือของบริษันอกจากนี้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะวางเครื่องหมาย/สัญลักษณ์บางอย่างที่มองเห็นได้ชัดเจนภายในหน้าจอของการซื้อขายโทเคนดิจิทัลบนแอปพลิเคชันมือถือของบริษัท โดยจะมีเครื่องหมาย/สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้

“(SP) ย่อมาจาก “Suspension” หมายความว่าโทเคนดิจิทัลที่ทำเครื่องหมายนั้นถูกระงับการซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และลูกค้าไม่สามารถสั่งซื้อโทเคนดิจิทัลนี้ได้”

“(C) ย่อมาจาก “Caution” หมายความว่าโทเคนดิจิทัลที่ทำเครื่องหมายไว้ไม่ได้ถูกระงับจากการซื้อขายในขณะนี้ แต่เคยถูกระงับการซื้อขายภายในเดือนที่ผ่านมา ลูกค้าควรใช้ความระมัดระวังในการสั่งซื้อโทเคนดิจิทัลนี้”

 

        สำหรับการลบเครื่องหมาย/สัญลักษณ์  หากบริษัทดำเนินการยกเลิกการระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัลและอนุญาตให้กลับมาซื้อขายได้อีกครั้งเครื่องหมาย (SP) จะถูกลบออกและเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย (C) เป็นเวลา 1 เดือนหลังจากที่เครื่องหมาย (SP) ถูกลบ

 

        3.4.3 ในขณะที่โทเคนดิจิทัลถูกระงับจากการซื้อขาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายจะติดตามสถานการณ์ของโทเคนดิจิทัลต่อไป และจะตัดสินว่ากิจกรรมที่ผิดปกติหรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลนั้นได้รับการแก้ไขแล้วหรือไม่ หากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายเห็นว่าโทเคนดิจิทัลที่ถูกระงับมีการแก้ไขปัญหาแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายจะส่งรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อตรวจสอบ และและพิจารณาอนุมัติการให้กลับมาซื้อขายโทเคนดิจิทัลต่อไป หากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงพิจารณาที่จะยกเลิกการระงับการซื้อขายโทเคนดิจิทัลและอนุญาตให้กลับมาซื้อขายได้อีกครั้งพร้อม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลการซื้อขายจะแจ้งฝ่ายปฏิบัติการเพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติการดำเนินการแจ้งต่อลูกค้าเกี่ยวกับการกลับมาซื้อขายของโทเคนดิจิทัลต่อไป การแจ้งเตือนนี้ต้องส่งให้กับลูกค้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนวันที่/เวลาเริ่มต้นการซื้อขายโทเคนดิจิทัลใหม่ และต้องระบุวันที่/เวลาเริ่มต้นการซื้อขายของโทเคนดิจิทัลให้ชัดเจนผ่านช่องทางการแจ้งเตือนคืออีเมลลูกค้าและการแจ้งเตือนภายในแอปพลิเคชันมือถือของบริษัท

 

  1. การจัดลำดับคำเสนอซื้อขาย (Order Queuing)

        บริษัทใช้ระบบในการจับลำดับและจับคู่คำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ เมื่อลูกค้ากดยืนยันการส่งคำเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัลในระบบโดยระบบจะดำเนินการรวบรวมคำสั่งจากลูกค้าทั้งหมดเข้าในฐานคำสั่งเสนอซื้อขาย (Order Book) เพื่อจัดลำดับการจับคู่ซื้อขายโทเคนดิจิทัลตามหลักการราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price then Time Priority) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                4.1 กรณีคำสั่งซื้อ (Bid)

คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่ จะจัดเรียงราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นการเสนอซื้อในลำดับแรก และถ้ามีการเสนอซื้อในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลา (Time Stamp) โดยการเสนอซื้อที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดในลำดับแรก

               

                4.2 กรณีคำสั่งขาย (Offer)

คำสั่งขายที่มีราคาเสนอขายต่ำที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าเป็นการเสนอขายในลำดับแรกก่อน และถ้ามีการเสนอขายในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลาโดยการเสนอขายที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอขายในลำดับแรก

               

                4.3 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคำเสนอซื้อขาย

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงคำเสนอซื้อขาย คำสั่งดังกล่าวจะได้รับการจัดลำดับคำสั่งใหม่ตามราคาและเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

                       

  1. การจับคู่เสนอซื้อขาย (Matching)

       บริษัทกำหนดหลักเกณฑ์ในการจับคู่คำเสนอซื้อขายโทเคนดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

                5.1 ระบบซื้อขายตรวจสอบว่าคำสั่งสามารถจับคู่กับคำสั่งด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่โดยพิจารณาตามหลักราคาและเวลาที่ดีที่สุด

 

                5.2 กรณีไม่สามารถจับคู่การซื้อขายได้หรือจับคู่ได้ไม่ครบตามจำนวนโทเคนดิจิทัลที่มีคำสั่งเข้ามาเนื่องจากไม่มีคำเสนอซื้อขายที่ตรงกับราคาและจำนวนที่กำหนด ระบบจะไม่ดำเนินการจับคู่ให้และจะจัดเรียงคำสั่งซื้อขายนั้นตามหลักการราคาและเวลาที่ดีที่สุดเพื่อรอการจับคู่คำสั่งต่อไป

 

  1. กระบวนการชำระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล (Clearing and Settlement)

                6.1 ระบบจะดำเนินการชำระราคาและส่งมอบโทเคนดิจิทัล ให้แก่ผู้ซื้อขายในแต่ละธุรกรรม โดยหักเงินบาท หรือโทเคนดิจิทัล (แล้วแต่กรณี) จากยอดรวมบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามมูลค่าและจำนวนที่ได้ทำการซื้อขายเพื่อนำไปเพิ่มในบัญชีทรัพย์สินของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการหักค่าธรรมเนียมออกจากบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าด้วย

                6.2 จัดให้มีระบบการกระทบยอด (Reconciliation) เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องทันที (Real Time) ภายหลังการจับคู่ การชำระเงิน และการส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าแต่ละราย

 

  1. การรายงานและแจ้งผลการทำธุรกรรม (Transaction Reports)

        บริษัทจัดให้มีการรายงานแก่หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องและแจ้งผลการทำธุรกรรมแก่ลูกค้าตามรายละเอียดดังนี้


        7.1 การแจ้งผลการทำธุรกรรม

กำหนดให้มีการแจ้งผลการทำธุรกรรมแก่ลูกค้าโดยลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมได้ผ่านทางแอปพลิเคชันของบริษัท


        7.2 การรายงานแก่หน่วยงานกำกับดูแล

        บริษัทกำหนดให้มีการจัดทำระบบเพื่อรองรับการรายงานข้อมูลแก่หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น โดยวิธีการและกรอบระยะเวลาให้เป็นไปตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด

               

  1. การทบทวนหลักเกณฑ์การซื้อขาย การชำระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล

        8.1 กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติการทั่วไปดำเนินการทบทวนหลักเกณฑ์การซื้อขาย การชำระราคา และส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทบทวนทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อหลักเกณฑ์การซื้อขายอย่างมีนัยสำคัญ

 

        8.2 ให้หัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติการทั่วไปพิจารณาหลักเกณฑ์การซื้อขายและอาจขอความเห็นจากฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานเพื่อให้หลักเกณฑ์สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต

 

        8.3 ให้หัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติการทั่วไปจัดทำรายงานการทบทวนหลักเกณฑ์แก่หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการเพื่อพิจารณาตรวจสอบและนำเสนอแก่ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

 

        8.4 ให้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการจัดทำรายงานความเห็นการทบทวนหลักเกณฑ์การซื้อขายการชำระราคา และส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำเสนอแก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและอนุมัติใช้ต่อไป โดยคณะกรรมการบริษัทอาจขอความเห็นจากฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้

 

        8.5 ภายหลังคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์การซื้อขาย การชำระราคา และส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว หากบริษัทมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานจัดทำหนังสือเพื่อขอรับความเห็นชอบหลักเกณฑ์การซื้อขาย การชำระราคา และส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลแก่สำนักงาน ก.ล.ต. โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อนนำมาประกาศบังคับใช้ในบริษัทตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์การซื้อขายดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของผู้ใช้บริการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าวและเสนอรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย

 

        บริษัทกำหนดช่วงราคาที่ลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อขายในศูนย์ซื้อขายของบริษัทได้โดยการใช้ปัจจัยในการคำนวณราคา (Price Collar Factor: PCF) และราคาอ้างอิงของโทเคนดิจิทัลตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

                ตัวอย่างการคำนวณช่วงราคา (Price Collar)

        ให้แทนราคาอ้างอิงของโทเคนดิจิทัล ก ด้วย A และแทนปัจจัยในการคำนวณราคาด้วย PCF โดยคำนวณช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดของโทเคนดิจิทัล ก ดังนี้

ราคาต่ำสุดที่ลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเท่ากับ A ÷ PCF

ราคาสูงสุดที่ลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเท่ากับ A x PCF

 

        ทั้งนี้ การกำหนดราคาอ้างอิงเป็นไปตามข้อ 1.2 สำหรับปัจจัยในการคำนวณหรือ PCF บริษัทกำหนดค่าไว้ที่ 1.3 สำหรับโทเคนดิจิทัล
ทุกชนิดที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายของบริษัท โดยพิจารณาและประเมินจากปัจจัยหลายประการ เช่น ข้อมูลจากฐานการซื้อขาย ช่วงราคาซื้อขาย ขนาดและปริมาณการซื้อขาย เป็นต้น การกำหนดปัจจัยในการคำนวณช่วยให้บริษัทสามารถปรับช่วงราคาเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของตลาด เช่น ในกรณีที่ราคาของโทเคนดิจิทัลมีความผันผวนอย่างรุนแรง และ/หรือ มีปริมาณการส่งคำสั่งซื้อขายมากอย่างมีนัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และความเรียบร้อยของการซื้อขาย บริษัทอาจพิจารณาปรับลดปัจจัยในการคำนวณราคาเพื่อปรับราคาซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดเมื่อเหตุการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติบริษัทจะปรับปัจจัยในการคำนวณราคากลับมาดังเดิม ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนปัจจัยในการคำนวณอาจมีผลจากเหตุผิดปกติหรือเหตุฉุกเฉินซึ่งอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยบริษัทจะพิจารณาการปรับเปลี่ยนเป็นรายกรณี

 

 

เอกสารแนบท้ายหัวข้อ 4.1.3 (ข) – หลักเกณฑ์การพิจารณาจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้ (The Maximum token holding limit)

 

บริษัทกำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายโทเคนดิจิทัล โดยกำหนดให้ระบบปฏิเสธคำสั่งซื้อที่จะทำให้ผู้ซื้อครอบครองโทเคนดิจิทัลซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนโทเคนดิจิทัลนั้นที่ออกและเสนอขายทั้งหมด หากคำสั่งซื้อดังกล่าวได้รับการจับคู่ในระบบ ตามข้อ 1.4 โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีขึ้นเพื่อป้องกันการถือครองโทเคนดิจิทัลโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งและกระจายการถือครองแก่นักลงทุนรายย่อย ซึ่งในการพิจารณากำหนดจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงสูดที่อนุญาตให้มีการซื้อขายและครอบครองได้ไม่ให้เกินร้อยละ 5 ของจำนวนโทเคนดิจิทัลทั้งหมดที่ได้ออกเสนอขายเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ถือหน่วยลงทุนของ 10 กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ที่จดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกล่าสุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามรายละเอียดปรากฏตามตารางด้านล่างนี้

 

ประการแรก ข้อมูลแสดงให้เห็นจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนเฉลี่ยต่อ REIT เท่ากับ 1,580 คน ซึ่งบ่งบอกว่าโครงสร้างการถือหุ้นโดยเฉลี่ยสำหรับผู้ถือหุ้นจะอยู่ที่ 1/1,580 เท่ากับ ร้อยละ 0.06 ดังนั้นการกำหนดข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลไม่ให้เกินร้อยละ 5 จึงจะไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุนส่วนใหญ่

 

ประการที่สอง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ถือหน่วยลงทุน 10 อันดับแรกของ REIT แต่ละกองถือหน่วยลงทุนเฉลี่ยร้อยละ 50.14 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของแต่ละกอง REIT และเมื่อหารเฉลี่ยร้อยละ 50.14 / 10 จะเท่ากับว่าผู้ถือหน่วยลงทุนใน 10 อันดับของกอง REIT เฉลี่ยแล้วถือหน่วยลงทุนประมาณร้อยละ 5 ของหน่วยลงทุนที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ดังนั้นผู้ถือโทเคนดิจิทัลรายใหญ่ใน 10 อันดับแรกของการเสนอขายโทเคนดิจิทัลใด ๆ บริษัทจึงคาดว่าผู้ถือโทเคนดิจิทัลรายใหญ่จะถือประมาณร้อยละ 5 ของโทเคนดิจิทัลทั้งหมดที่ออกและเสนอขายในทำนองเดียวกับกอง REIT

 

ประการที่สาม ข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีผู้ถือหน่วยลงทุนเฉลี่ย 2.6 ราย ที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่ออกและเสนอขายของกอง REIT แต่ละกอง ดังนั้น การที่บริษัทจำกัดการถือครองและการซื้อขายโทเคนดิจิทัลสูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 นั้นจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนจำนวนน้อยมากที่อาจต้องการซื้อมากกว่าร้อยละ 5 ของโทเคนดิจิทัลทั้งหมดที่ออกเสนอขาย

 

 

REIT

เฉลี่ย

KTBSTMR

INETREIT

GROREIT

PROSPECT

ALLY

AIMCG

SPRIME

B-WORK

BOFFICE

AIMIRT

วันที่ซื้อขายครั้งแรก

 

15 พ.ย. 64

9
ส.ค. 64

21 ก.ค. 64

20 ส.ค. 63

11
ธ.ค.
62

12
ก.ค.
62

23 ม.ค. 62

27
ก.พ.
61

22
ม.ค.
61

8
ม.ค.
61

ร้อยละผู้ถือหุ้นรายย่อย

77.65%

71.00%

73.73%

75.65%

67.52%

64.17
%

94.96
%

79.71%

77.87
%

77.87

%

94.00
%

จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย

1,580

1,767

807

1,325

955

3,523

2,169

754

1,488

1,488

1,521

จำนวนผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 5

2.6

2

2

1

3

2

1

3

5

4

3

ร้อยละของผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 5

0.21
%

0.11
%

0.25
%

0.08
%

0.31
%

0.06
%

0.05
%

0.40
%

0.34
%

0.27
%

0.20
%

ร้อยละของผู้ถือหุ้นเกินกว่า

50.14%

44.70%

52.94%

35.72%

54.52%

53.72
%

37.74
%

60.99%

56.83
%

60.63
%

43.56
%

 

 

 

  • หลักเกณฑ์และขั้นตอนการกำหนดจำนวนโทเคนดิจิทัลสูงสุดที่อนุญาตให้มีการซื้อขายและครอบครองได้

บริษัทกำหนดให้อัตราการถือครองห้ามเพิ่มเกินกว่าร้อยละ 5 โดยฝ่ายที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisory Department) ของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลของบริษัท (ICO Portal) จะรับรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดนี้และจะให้คำแนะนำแก่ลูกค้าผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล อย่างไรก็ตามหากฝ่ายที่ปรึกษาการเงินของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลของบริษัท และลูกค้าผู้ออกโทเคนดิจิทัลเห็นว่าการลดอัตราการถือครองโทเคนดิจิทัลนั้นจะเป็นประโยชน์แก่โทเคนดิจิทัลที่จะออกเสนอขายมากกว่า ลูกค้าผู้ออกโทเคนดิจิทัลก็สามารถเสนอให้มีการลดข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลโดยการระบุในหนังสือชี้ชวนหรือบันทึกการเสนอขายโทเคนดิจิทัลได้ เช่น หนังสือชี้ชวนหรือบันทึกการเสนอขายโทเคนดิจิทัลกำหนดให้นักลงทุน 1 คน สามารถถือครองโทเคนดิจิทัลได้สูงสุดร้อยละ 3 ของจำนวนโทเคนดิจิทัลนั้นที่ได้ออกเสนอขายทั้งหมด ทั้งนี้ข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนโทเคนดิจิทัลโดยคณะกรรมการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท โดยกระบวนการนี้จะเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ใช้กับโทเคนดิจิทัลทั้งหมดที่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในระบบของบริษัท อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดการถือครองโทเคนดิจิทัลแต่ละอันอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลแต่ละราย

 

  • หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเปลี่ยนข้อกำหนดการถือครองโทเคนดิจิทัลหลังการจดทะเบียน

ตามข้อมูลการซื้อขาย REIT ย้อนหลังของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันสำหรับ REIT ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.07 ของมูลค่าตลาดของ REIT ทั้งหมดหากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของโทเคนดิจิทัลนั้น ๆ ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 0.035 เป็นเวลา 60 วันซื้อขายติดต่อกัน และมีนักลงทุนมากกว่า 10 รายที่ถือครองโทเคนดิจิทัลนั้นไว้ถึงขีดจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลสูงสุด ฝ่ายปฏิบัติการ (Operation Department) จะทำรายงานสรุปประวัติการซื้อขายของโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายนั้นและวิเคราะห์ว่าการซื้อขายที่ลดลงของโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายนั้นเป็นผลมาจากการถือครองโทเคนดิจิทัลที่มากเกินไปของกลุ่มผู้ถือโทเคนดิจิทัลรายใหญ่หรือเป็นผลจากปัจจัยอื่น ๆ (เช่น เหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด19 ที่อาจส่งผลให้การซื้อขายโทเคนดิจิทัลทั้งหมดโดยทั่วไปลดลง) หากรายงานของฝ่ายปฏิบัติการระบุว่าสาเหตุของการซื้อขายโทเคนดิจิทัลที่ลดลงนั้นเป็นผลมาจากการถือครองโทเคนดิจิทัลเต็มขีดจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลของลูกค้ารายใหญ่มีจำนวนมากเกินไป ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการจะทำข้อเสนอไปยังคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาลดขีดจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลลงร้อยละ 0.5 และเมื่อคณะกรรมการบริษัทอนุมัติข้อเสนอดังกล่าว ฝ่ายปฏิบัติการจะคอยตรวจสอบธุรกรรมการซื้อขายของโทเคนดิจิทัลนั้น ๆ และหากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของโทเคนดิจิทัลนั้นลดลงต่ำกว่าร้อยละ 0.035 เป็นเวลา 60 วันซื้อขายติดต่อกันอีกครั้ง บริษัทก็จะดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานที่จะนำไปใช้กับโทเคนดิจิทัลที่จดทะเบียนทั้งหมดบนระบบศูนย์ซื้อขายของบริษัท

 

ในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่มข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลภายหลังจากได้ขึ้นทะเบียนโทเคนดิจิทัลกับบริษัทแล้ว บริษัทไม่มีนโยบายเพิ่มข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลให้เกินกว่าร้อยละ 5 เนื่องจากการเพิ่มข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลนั้นอาจทำให้มีลูกค้าผู้ถือโทเคนดิจิทัลรายใหญ่มีมากขึ้นในกลุ่มลูกค้านักลงทุนรายย่อย ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อสภาพคล่องในการซื้อขายทำให้มีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกค้าผู้ลงทุนทุกคน ดังนั้นการกำหนดข้อจำกัดการถือครองโทเคนดิจิทัลนี้จะทำให้เกิดสภาพคล่องการซื้อขายโทเคนดิจิทัลที่สูงอันจะเป็นผลประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าผู้ลงทุนทุกๆ คน